วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"โครงการ กังหันน้ำชัยพัฒนา"

"ไทยทำไทยใช้ กังหันน้ำชัยพัฒนา"

เนื่องจากปัญหามลพิษทางน้ำไทยสูงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริเรื่องการพัฒนาน้ำเสียวิธีกรองน้ำเสียวิธีต่าง ๆ แต่ไม่สามารถบรรเทา จึงให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยทรงได้แนวจาก “หลุก” อุปกรณ์วิดน้ำเข้านา เป็นแนวคิดแบ่งเบาภาระรัฐบาลจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบ ศึกษาและวิจัยจัดสร้างเครื่องต้นแบบและร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้น “กังหันน้ำชัยพัฒนา” มีใบพัดขับเคลื่อนน้ำและซองวิดน้ำไปสาดกระจายเพื่อให้สัมผัสอากาศทั่วถึง ให้ออกซิเจนในอากาศละลายในน้ำอย่างรวดเร็ว น้ำเสียถูกยกขึ้นมาตกลงน้ำเกิดฟองถ่ายเทออกซิเจน จึงสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งเกษตรกรรม ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นรวมทั้งการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

เครื่องกลเติมอากาศได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพ.ค. 32 และในวันที่ 2 ก.ค. 36 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น"สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"

ธนฝน บัวแย้ม
12.02.2553 เวลา 14.50 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น